วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เลิกใช้เคมีการเกษตร เลิกจน หยุดโลกร้อน หยุดทำลาย


อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

(United Nations Framework Convention on Climate Chang, UNFCCC)” นำไปสู่การจัดทำ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งรู้จักกันอีกอย่างว่าเป็นสนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศของโลก
          โดยมีเป้าหมายผูกพัน คือ การควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 6 ชนิด ได้แก่
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PCFs) และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) โดยเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนา แล้วลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.2 เปอร์เซ็นต์ ภายใน พ.ศ. 2555         

          แม้ว่าประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ จะจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ Non – Annex I ซึ่งไม่มีพันธะกรณีในการ ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตเรื่องของกลไกการพัฒนาที่สะอาด (มาตรา 12) โดยสามารถเลือกเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของอนุสัญญาและพิธีสารได้ตามความสมัครใจก๊าซเรือนกระจกมีที่มาจากทั้งธรรมชาติ และจากกิจกรรมของมนุษย์ ในยุคก่อนอุตสาหกรรมการสะสมของก๊าซต่างๆในบรรยากาศค่อนข้างคงตัว แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีหลักฐานบ่งชัดว่าเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์มากกว่าการเกิดตามธรรมชาติ ตัวอย่างกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ การเผาผลาญเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลดึกดำบรรพ์และการทำลายป่า การกสิกรรมและปศุสัตว์ซึ่งก่อให้เกิดของเสียเป็นสิ่งปฏิกูลต่างๆตามมา การใช้สารเคมีในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น เป็นต้น
ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องมีการปรับตัวใหม่ เพื่อตอบสนองต่อปัจจัยและเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ไม่สามารถปรับตัวได้จะต้องสูญพันธุ์ในที่สุด การสูญหายไปของสิ่งมีชีวิตแม้เพียงชนิดเดียวย่อมกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร ส่งผลต่อความมั่นคงในการดำรงอยู่ของระบบนิเวศนั้นๆ

"ยูเอ็น"เตือนโลกร้อนฉบับที่ 2 ทำเสียหายมหึมา-เอเชียหนัก"


ยูเอ็น"สรุปภาวะโลกร้อนฉบับที่ 2 สร้างค่าเสียหาย 23,700 ล้านดอลลาร์ ถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ชี้ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเพิ่มระดับน้ำขึ้น 1 เมตร เสียหายในเชิงเศรษฐกิจมากถึง 944,000 ล้านดอลลาร์ เกือบครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นในเอเชีย วอนทุกชาติร่วมมือ เตรียมแถลงเป็นทางการ"


ไนตรัสออกไซต์ (N20)
ไนตรัสออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพที่ทำให้เกิดโลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 296 เท่า และคงอยู่ในบรรยากาศเป็นเวลา 114 ปี ก๊าซนี้ถูกปล่อยออกมาโดยธรรมชาติจากมหาสมุทรและดิน แต่ไนตรัสออกไซด์ที่มนุษย์ก่อให้เกิดนั้นกำลังเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซชนิดนี้ กิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซนี้ ได้แก่ เกษตรกรรม (ส่วนมากโดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน) และอุตสาหกรรม และยังเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ


           มีความพยายามเสนอมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังไม่เห็นการดำเนินการที่ชัดเจนพอที่เราจะบอกว่าควรสนับสนุนหรือคัดค้าน แต่จากทิศทางการพัฒนาการเกษตรที่เป็นอยู่ คือเน้นสนับสนุนการเกษตรขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์ ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีเยอะ ๆ ใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) จะไม่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน และอาจทำให้ปัญหาแย่ลงได้  ส่วนการศึกษาในประเทศไทย นักวิชาการคนเดียวกัน กล่าวว่า ภาพรวมพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากปริมาณก๊าซที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้ผลผลิตของพืชลดลงเรื่อยๆ แต่ขนาดของผลกระทบแตกต่างกันไปในแต่กรณี เช่น พื้นที่ปลูกข้าวใน จ.สุรินทร์ มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าพื้นที่ จ.ร้อยเอ็ด พื้นที่ปลูกข้าวโพดใน จ.นครราชสีมา ก็มีความอ่อนไหวมากกว่าพื้นที่ จ.นครสวรรค์ เกษตรกรที่ปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงน้อยกว่าเกษตรกรที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี


           นายสหัสชัย คงทน นักวิชาการสำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดินกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อภาคเกษตรกรรมว่า สาขาการผลิตที่ผูกพันกับสภาพธรรมชาติมากยิ่งเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ภาคเกษตรจึงมีความอ่อนไหวต่อ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มากไทยเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่พึ่งพาสาขาเกษตร โดยเฉพาะด้านกสิกรรม มีพืชเศรษฐกิจหลายชนิดที่เป็นสินค้าส่งออกและเป็นสินค้าเริ่มต้นเพื่อการผลิตในสาขาอื่นในประเทศ เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สภาพดินฟ้าอากาศจึงมีผลต่อการผลิตของพืชเหล่านี้เป็นอย่างมาก การศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบต่อภาคเกษตรจึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการปรับตัวแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น