วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ทุนสนับสนุน งานวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก

โครงการ ที่รอการสนับสนุนทุนนักศึกษาปริญญาโท-เอก

ฟอสซิลหมักบ่มและอินทรี สกัดเข้มข้น สูตร NBE-1 นาโนชีวภาพเพื่อเพิ่มค่าคาร์บอนในพืชพลังงาน 




กว่าสองปี ในการจัดหานักศึกษาไทย ระดับปริญญาตรี เพื่อรับทุนศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโท-เอก ต่อเนื่อง ในโครงการวิจัยเสนอโดย ดร.กาเบอร์ หลุยส์ ฮอร์นยัค คณะบดีคณะนาโนเทคโนโลยี่ ชาวอเมริกัน สถาบันเอไอที (สถาบันความเป็นเลิศแห่งเอเชีย) โดยมุ่งเน้นสร้างปัจจัยเพิ่มค่าคาร์บอน ในเนื้อเยื่อของพืชกลุ่มพลังงาน ได้แก่ หญ้าเนเปีย กระถินยักษ์ และไม้สัก


แม้การจัดหาทุนและนักศึกษา ดังกล่าว จะยังไม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ก็เริ่มมีแนวโน้ม ที่จะได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ และนักศึกษาไทย ที่มองเห็นนาโนเทคโนโลยี่ ในโลกปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น




นักศึกษาปริญญาโท ทุนวิจัย ฟอสซิล 50 ล้านปี สกัด สูตร NBE-1 ภาควิชานาโนภูมิศาสตร์ คนแรกของสถาบัน เอไอที และของภูมิภาคเอเชีย  ในวันสำเร็จการศึกษาและรับปริญญา
เมื่อ 15/12/2016


สำหรับผู้สนใจ สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงที่



หรือ 081-564-0141
ที่มา : โครงการทุนสนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก งานวิจัยปัจจัยเพิ่มค่าคาร์บอนกับพืชพลังงาน

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผลการตรวจสอบ สูตร NBE-1

อนุภาคที่มีขนาด 333 นาโนเมตริก



ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ นาโนแล็บ



ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย (Central LAB)
เพื่อหาโลหะหนักและความเป็นพิษ  51 รายการ






ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โครงการวิเคราะห์ปุ๋ย ดิน และน้ำ ภาควิชาปฐพีวิทยา
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  11 รายการ


คำเตือน  ห้ามนำไปเผยแพร่ โดยไม่ได้รับอนุญาต

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ทุนสนับสนุน งานวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก

โครงการ ที่รอการสนับสนุนทุนนักศึกษาปริญญาโท-เอก


นักศึกษาปริญญาโท ทุนวิจัย NBE-1 ภาควิชานาโนภูมิศาสตร์ คนแรกของสถาบัน เอไอที และของภูมิภาคเอเชีย ในวันสำเร็จการศึกษาและรับปริญญา
เมื่อ 15/12/2016


ฟอสซิลหมักบ่มและอินทรี สกัดเข้มข้น สูตร NBE-1 นาโนชีวภาพเพื่อเพิ่มค่าคาร์บอนในพืชพลังงาน 




กว่าสองปี ในการจัดหานักศึกษาไทย ระดับปริญญาตรี เพื่อรับทุนศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโท-เอก ต่อเนื่อง ในโครงการวิจัยเสนอโดย ดร.กาเบอร์ หลุยส์ ฮอร์นยัค คณะบดีคณะนาโนเทคโนโลยี่ ชาวอเมริกัน สถาบันเอไอที (สถาบันความเป็นเลิศแห่งเอเชีย) โดยมุ่งเน้นสร้างปัจจัยเพิ่มค่าคาร์บอน ในเนื้อเยื่อของพืชกลุ่มพลังงาน ได้แก่ หญ้าเนเปีย กระถินยักษ์ และไม้สัก


แม้การจัดหาทุนและนักศึกษา ดังกล่าว จะยังไม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ก็เริ่มมีแนวโน้ม ที่จะได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ และนักศึกษาไทย ที่มองเห็นนาโนเทคโนโลยี่ ในโลกปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น




สำหรับผู้สนใจ สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงที่




ที่มา : โครงการทุนสนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก งานวิจัยปัจจัยเพิ่มค่าคาร์บอนกับพืชพลังงาน

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ

สร้างนวัตกรรมด้วย...นาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ

Attention: open in a new window. 
 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ วงการอุตสาหกรรมและธุรกิจทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้วิธีการเลียนแบบธรรมชาติจากการใช้ความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และสาขาวิชาอื่นๆซึ่งมีรายละเอียดในการ
          ศึกษาที่ลงลึกไปในระดับโครงสร้างของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะคุณสมบัติ
          พิเศษที่พบในพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ
          โดยเฉพาะในยุคนาโนเทคโนโลยีนี้ มนุษย์สามารถเข้าถึงเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการออกแบบที่พบในธรรมชาติง่ายขึ้นและยังสามารถเลียนแบบธรรมชาติในมิติใหม่ที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน ให้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ได้
          การเลียนแบบโครงสร้างระดับนาโนเมตรของตีนตุ๊กแก
          ตัวอย่าง "สัตว์เลื้อยคลาน" อย่าง "ตุ๊กแก" และ"จิ้งจก" สามารถปีนกำแพงหรือเกาะติดผนังที่ราบเรียบและลื่นได้อย่างมั่นคงเพราะบริเวณใต้อุ้งตีนของตุ๊กแกจะมีขนขนาดเล็กที่เรียกว่า ซีเต้ (Setae) จำนวนนับล้านเส้นเรียงตัวอัดแน่นอยู่ โดยที่ส่วนปลายของขนซีเต้แต่ละเส้นนี้ก็ยังมีเส้นขนที่มีขนาดเล็กกว่าที่เรียกว่า สปาตูเล่ (Spatulae) ประกอบอยู่อีกหลายร้อยเส้น แต่ละเส้นจะมีขนาดเล็กประมาณ 200 นาโนเมตร และที่ปลายของสปาตูเล่แต่ละเส้นจะสามารถสร้างแรงดึงดูดที่เรียกว่า "แรงแวนเดอร์วาลส์" (Van der Waals force) เพื่อให้ในการยึดติดกับโมเลกุลของสสารที่เป็นส่วนประกอบของผนังหรือเพดานได้ ด้วยหลักการนี้เองจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นเทคโนโลยีแถบยึดตุ๊กแก (Gecko Tape) ขึ้นมาจากวัสดุสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่มีลักษณะเป็นขนขนาดนาโน(Nanoscopic hairs) เลียนแบบขนสปาตูเล่ที่อยู่บน
          ตีนตุ๊กแก เพื่อนำไปผลิตแถบยึดที่ปราศจากการใช้กาวซึ่งสามารถแปะแล้วลอกออกไปแปะที่ใหม่ได้เหมือนตุ๊กแกยกตีน ไม่ต้องทิ้งขว้างเหมือนเราใช้เทปกาวนอกจากนี้ยังสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างถุงมือ ผ้าพันแผลที่สามารถแปะติดได้แนบแน่นขึ้น
          ตลอดจนสามารถพัฒนาไปเป็นล้อของหุ่นยนต์ที่สามารถไต่ผนังหรือเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งได้อีกด้วย
          การเลียนแบบโครงสร้างระดับนาโนเมตรบนผิวใบบัว
          การที่ใบบัวหลวงมีคุณสมบัติที่เกลียดน้ำก็เพราะว่าพื้นผิวของใบบัวมีลักษณะคล้ายกับหนามขนาดเล็กจำนวนมหาศาลเรียงตัวกระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบโดยที่หนามขนาดเล็กเหล่านี้ก็ยังจะมีปุ่มเล็กๆ ที่มีขนาดในระดับนาโนเมตรและเป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายขี้ผึ้งซึ่งเกลียดน้ำเคลือบอยู่ภายนอกอีกด้วย จึงทำให้น้ำที่ตกลงมาบนใบบัวมีพื้นที่สัมผัสน้อยมาก ทำให้น้ำไม่สามารถซึมผ่านหรือกระจายตัวแผ่ขยายออกในแนวกว้างบนใบบัวได้ น้ำจึงต้องม้วนตัวเป็นหยดน้ำขนาดเล็กกลิ้งไปรวมกันอยู่ที่บริเวณที่ต่ำที่สุดบนใบบัว สิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนใบบัวก็จะหลุดติดไปกับหยดน้ำอย่างง่ายดาย นอกจากนี้สิ่งสกปรกทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นผงฝุ่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ก็ไม่สามารถเกาะติดแน่นอยู่กับใบบัวได้เช่นเดียวกันเพราะว่ามีพื้นที่สัมผัสกับใบบัวได้แค่เพียงบริเวณปลายยอดของหนามเล็กๆแต่ละอันเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำหลักการของน้ำกลิ้งบนใบบัว (Lotus effect) มาใช้ในการสังเคราะห์วัสดุ ชนิดใหม่เลียนแบบคุณลักษณะของใบบัว หรือการนำไปประยุกต์ใช้เป็นสีทาบ้านที่สามารถไม่เปียกน้ำและสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ รวมไปถึงการพัฒนาเป็นเสื้อผ้ากันน้ำไร้รอยคราบสกปรก
          จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าถ้าเราสามารถไขปริศนากระบวนการและการออกแบบที่แสนมหัศจรรย์ที่พบในธรรมชาติได้ทั้งหมด มนุษย์เราก็จะสามารถสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อีกมากมายมหาศาล
การเลียนแบบโครงสร้างระดับนาโนเมตรของปีกผีเสื้อ
          ผีเสื้อบางชนิด เช่น Polyommatus sp.สามารถดึงดูดเพศตรงข้ามหรือหลบหนีศัตรูได้โดยการเปลี่ยนสีปีก เช่นจากสีน้ำเงินไปเป็นสีน้ำตาล โดยการเปลี่ยนแปลงสีปีกนี้อาศัยหลักการหักเหและการสะท้อนของแสงแดดที่มาตกกระทบลงบนปีก โดยถ้ามุมที่แสงตกกระทบมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย สีที่ปรากฏบนปีกผีเสื้อก็จะแตกต่างกัน
          ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแสงแดดมาตกกระทบ
          กับโครงสร้างที่อยู่ในปีกผีเสื้อใน
          มุมใดมุมหนึ่งจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกมา แต่ในขณะเดียวกันก็ดูดซับแสงสีอื่นๆไว้ทั้งหมดทำให้เราเห็นผีเสื้อมีปีกสีน้ำเงิน
          เมื่อนักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องขยายกำลังสูงส่องดูปีกผีเสื้อชนิดที่สามารถเปลี่ยนสีกลับไปกลับมาได้ ก็พบรูพรุนที่มีขนาดในช่วงนาโนจำนวนมหาศาลเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนผลึกโฟโต้นิกส์ (Photonic crystal) ในธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ยังได้ตั้งสมมติฐานว่าการเปลี่ยนสีของปีกผีเสื้อชนิดนี้ยังเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิได้อีกด้วย จึงนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างผลึกโฟโต้นิกส์สังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ดีและเปลี่ยนคุณสมบัติไปตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเสื้อผ้าป้องกันความร้อนที่ใช้ในทะเลทรายหรือห้วงอวกาศ
แหล่งที่มา : สร้างนวัตกรรมด้วย...นาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ. โพสต์ทูเดย์ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 25560