วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ทุนสนับสนุน งานวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก

โครงการ ที่รอการสนับสนุนทุนนักศึกษาปริญญาโท-เอก

ฟอสซิลหมักบ่มและอินทรี สกัดเข้มข้น สูตร NBE-1 นาโนชีวภาพเพื่อเพิ่มค่าคาร์บอนในพืชพลังงาน 




กว่าสองปี ในการจัดหานักศึกษาไทย ระดับปริญญาตรี เพื่อรับทุนศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโท-เอก ต่อเนื่อง ในโครงการวิจัยเสนอโดย ดร.กาเบอร์ หลุยส์ ฮอร์นยัค คณะบดีคณะนาโนเทคโนโลยี่ ชาวอเมริกัน สถาบันเอไอที (สถาบันความเป็นเลิศแห่งเอเชีย) โดยมุ่งเน้นสร้างปัจจัยเพิ่มค่าคาร์บอน ในเนื้อเยื่อของพืชกลุ่มพลังงาน ได้แก่ หญ้าเนเปีย กระถินยักษ์ และไม้สัก


แม้การจัดหาทุนและนักศึกษา ดังกล่าว จะยังไม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ก็เริ่มมีแนวโน้ม ที่จะได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ และนักศึกษาไทย ที่มองเห็นนาโนเทคโนโลยี่ ในโลกปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น




นักศึกษาปริญญาโท ทุนวิจัย ฟอสซิล 50 ล้านปี สกัด สูตร NBE-1 ภาควิชานาโนภูมิศาสตร์ คนแรกของสถาบัน เอไอที และของภูมิภาคเอเชีย  ในวันสำเร็จการศึกษาและรับปริญญา
เมื่อ 15/12/2016


สำหรับผู้สนใจ สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงที่



หรือ 081-564-0141
ที่มา : โครงการทุนสนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก งานวิจัยปัจจัยเพิ่มค่าคาร์บอนกับพืชพลังงาน

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผลการตรวจสอบ สูตร NBE-1

อนุภาคที่มีขนาด 333 นาโนเมตริก



ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ นาโนแล็บ



ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย (Central LAB)
เพื่อหาโลหะหนักและความเป็นพิษ  51 รายการ






ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โครงการวิเคราะห์ปุ๋ย ดิน และน้ำ ภาควิชาปฐพีวิทยา
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  11 รายการ


คำเตือน  ห้ามนำไปเผยแพร่ โดยไม่ได้รับอนุญาต

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ทุนสนับสนุน งานวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก

โครงการ ที่รอการสนับสนุนทุนนักศึกษาปริญญาโท-เอก


นักศึกษาปริญญาโท ทุนวิจัย NBE-1 ภาควิชานาโนภูมิศาสตร์ คนแรกของสถาบัน เอไอที และของภูมิภาคเอเชีย ในวันสำเร็จการศึกษาและรับปริญญา
เมื่อ 15/12/2016


ฟอสซิลหมักบ่มและอินทรี สกัดเข้มข้น สูตร NBE-1 นาโนชีวภาพเพื่อเพิ่มค่าคาร์บอนในพืชพลังงาน 




กว่าสองปี ในการจัดหานักศึกษาไทย ระดับปริญญาตรี เพื่อรับทุนศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโท-เอก ต่อเนื่อง ในโครงการวิจัยเสนอโดย ดร.กาเบอร์ หลุยส์ ฮอร์นยัค คณะบดีคณะนาโนเทคโนโลยี่ ชาวอเมริกัน สถาบันเอไอที (สถาบันความเป็นเลิศแห่งเอเชีย) โดยมุ่งเน้นสร้างปัจจัยเพิ่มค่าคาร์บอน ในเนื้อเยื่อของพืชกลุ่มพลังงาน ได้แก่ หญ้าเนเปีย กระถินยักษ์ และไม้สัก


แม้การจัดหาทุนและนักศึกษา ดังกล่าว จะยังไม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ก็เริ่มมีแนวโน้ม ที่จะได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ และนักศึกษาไทย ที่มองเห็นนาโนเทคโนโลยี่ ในโลกปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น




สำหรับผู้สนใจ สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงที่




ที่มา : โครงการทุนสนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก งานวิจัยปัจจัยเพิ่มค่าคาร์บอนกับพืชพลังงาน

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ

สร้างนวัตกรรมด้วย...นาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ

Attention: open in a new window. 
 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ วงการอุตสาหกรรมและธุรกิจทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้วิธีการเลียนแบบธรรมชาติจากการใช้ความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และสาขาวิชาอื่นๆซึ่งมีรายละเอียดในการ
          ศึกษาที่ลงลึกไปในระดับโครงสร้างของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะคุณสมบัติ
          พิเศษที่พบในพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ
          โดยเฉพาะในยุคนาโนเทคโนโลยีนี้ มนุษย์สามารถเข้าถึงเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการออกแบบที่พบในธรรมชาติง่ายขึ้นและยังสามารถเลียนแบบธรรมชาติในมิติใหม่ที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน ให้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ได้
          การเลียนแบบโครงสร้างระดับนาโนเมตรของตีนตุ๊กแก
          ตัวอย่าง "สัตว์เลื้อยคลาน" อย่าง "ตุ๊กแก" และ"จิ้งจก" สามารถปีนกำแพงหรือเกาะติดผนังที่ราบเรียบและลื่นได้อย่างมั่นคงเพราะบริเวณใต้อุ้งตีนของตุ๊กแกจะมีขนขนาดเล็กที่เรียกว่า ซีเต้ (Setae) จำนวนนับล้านเส้นเรียงตัวอัดแน่นอยู่ โดยที่ส่วนปลายของขนซีเต้แต่ละเส้นนี้ก็ยังมีเส้นขนที่มีขนาดเล็กกว่าที่เรียกว่า สปาตูเล่ (Spatulae) ประกอบอยู่อีกหลายร้อยเส้น แต่ละเส้นจะมีขนาดเล็กประมาณ 200 นาโนเมตร และที่ปลายของสปาตูเล่แต่ละเส้นจะสามารถสร้างแรงดึงดูดที่เรียกว่า "แรงแวนเดอร์วาลส์" (Van der Waals force) เพื่อให้ในการยึดติดกับโมเลกุลของสสารที่เป็นส่วนประกอบของผนังหรือเพดานได้ ด้วยหลักการนี้เองจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นเทคโนโลยีแถบยึดตุ๊กแก (Gecko Tape) ขึ้นมาจากวัสดุสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่มีลักษณะเป็นขนขนาดนาโน(Nanoscopic hairs) เลียนแบบขนสปาตูเล่ที่อยู่บน
          ตีนตุ๊กแก เพื่อนำไปผลิตแถบยึดที่ปราศจากการใช้กาวซึ่งสามารถแปะแล้วลอกออกไปแปะที่ใหม่ได้เหมือนตุ๊กแกยกตีน ไม่ต้องทิ้งขว้างเหมือนเราใช้เทปกาวนอกจากนี้ยังสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างถุงมือ ผ้าพันแผลที่สามารถแปะติดได้แนบแน่นขึ้น
          ตลอดจนสามารถพัฒนาไปเป็นล้อของหุ่นยนต์ที่สามารถไต่ผนังหรือเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งได้อีกด้วย
          การเลียนแบบโครงสร้างระดับนาโนเมตรบนผิวใบบัว
          การที่ใบบัวหลวงมีคุณสมบัติที่เกลียดน้ำก็เพราะว่าพื้นผิวของใบบัวมีลักษณะคล้ายกับหนามขนาดเล็กจำนวนมหาศาลเรียงตัวกระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบโดยที่หนามขนาดเล็กเหล่านี้ก็ยังจะมีปุ่มเล็กๆ ที่มีขนาดในระดับนาโนเมตรและเป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายขี้ผึ้งซึ่งเกลียดน้ำเคลือบอยู่ภายนอกอีกด้วย จึงทำให้น้ำที่ตกลงมาบนใบบัวมีพื้นที่สัมผัสน้อยมาก ทำให้น้ำไม่สามารถซึมผ่านหรือกระจายตัวแผ่ขยายออกในแนวกว้างบนใบบัวได้ น้ำจึงต้องม้วนตัวเป็นหยดน้ำขนาดเล็กกลิ้งไปรวมกันอยู่ที่บริเวณที่ต่ำที่สุดบนใบบัว สิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนใบบัวก็จะหลุดติดไปกับหยดน้ำอย่างง่ายดาย นอกจากนี้สิ่งสกปรกทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นผงฝุ่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ก็ไม่สามารถเกาะติดแน่นอยู่กับใบบัวได้เช่นเดียวกันเพราะว่ามีพื้นที่สัมผัสกับใบบัวได้แค่เพียงบริเวณปลายยอดของหนามเล็กๆแต่ละอันเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำหลักการของน้ำกลิ้งบนใบบัว (Lotus effect) มาใช้ในการสังเคราะห์วัสดุ ชนิดใหม่เลียนแบบคุณลักษณะของใบบัว หรือการนำไปประยุกต์ใช้เป็นสีทาบ้านที่สามารถไม่เปียกน้ำและสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ รวมไปถึงการพัฒนาเป็นเสื้อผ้ากันน้ำไร้รอยคราบสกปรก
          จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าถ้าเราสามารถไขปริศนากระบวนการและการออกแบบที่แสนมหัศจรรย์ที่พบในธรรมชาติได้ทั้งหมด มนุษย์เราก็จะสามารถสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อีกมากมายมหาศาล
การเลียนแบบโครงสร้างระดับนาโนเมตรของปีกผีเสื้อ
          ผีเสื้อบางชนิด เช่น Polyommatus sp.สามารถดึงดูดเพศตรงข้ามหรือหลบหนีศัตรูได้โดยการเปลี่ยนสีปีก เช่นจากสีน้ำเงินไปเป็นสีน้ำตาล โดยการเปลี่ยนแปลงสีปีกนี้อาศัยหลักการหักเหและการสะท้อนของแสงแดดที่มาตกกระทบลงบนปีก โดยถ้ามุมที่แสงตกกระทบมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย สีที่ปรากฏบนปีกผีเสื้อก็จะแตกต่างกัน
          ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแสงแดดมาตกกระทบ
          กับโครงสร้างที่อยู่ในปีกผีเสื้อใน
          มุมใดมุมหนึ่งจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกมา แต่ในขณะเดียวกันก็ดูดซับแสงสีอื่นๆไว้ทั้งหมดทำให้เราเห็นผีเสื้อมีปีกสีน้ำเงิน
          เมื่อนักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องขยายกำลังสูงส่องดูปีกผีเสื้อชนิดที่สามารถเปลี่ยนสีกลับไปกลับมาได้ ก็พบรูพรุนที่มีขนาดในช่วงนาโนจำนวนมหาศาลเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนผลึกโฟโต้นิกส์ (Photonic crystal) ในธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ยังได้ตั้งสมมติฐานว่าการเปลี่ยนสีของปีกผีเสื้อชนิดนี้ยังเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิได้อีกด้วย จึงนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างผลึกโฟโต้นิกส์สังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ดีและเปลี่ยนคุณสมบัติไปตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเสื้อผ้าป้องกันความร้อนที่ใช้ในทะเลทรายหรือห้วงอวกาศ
แหล่งที่มา : สร้างนวัตกรรมด้วย...นาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ. โพสต์ทูเดย์ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 25560
                     

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

เตือนภัยสารพิษเคมีการเกษตร ในประเทศไทย ขั้นสูงสุด

แพทย์อุบลกังวลสารพิษเกษตรฉุดสุขภาพคนไทยทรุด
Posted: 02 Sep 2013 01:38 AM PDT

นพ.สสจ.อุบลฯเผยผลตรวจเลือดเกษตรกรพบ 70% เสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารพิษฆ่าแมลง สหภาพยุโรปจับมือม.อุบลฯเร่งหนุนเกษตรอินทรีย์


นายแพทย์ใหญ่อุบล กังวลสารพิษทางเกษตรฉุดสุขภาพคนไทยทรุด รองผู้ว่าฯ รับนโยบายเสนอผุดศูนย์เกษตรอินทรีย์ ขณะที่สหภาพยุโรปจับมือ ม.อุบลฯ โชว์โครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ผุดงานวิจัยรับมือความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ชี้ภายในปี 2560 เกษตรกรผ่านใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อย่างน้อย 100 ครอบครัว 

เมื่อวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2556 ที่ห้องประชุมพิบูลมังสาหาร อาคารวิจัยเครือข่ายและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สหภาพยุโรป ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แถลงข่าวเปิดตัวโครงการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อความมั่นคงทางอาหารและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมแถลงข่าว ได้แก่ นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี คุณอรุณศิริ โพธิ์ทอง ผู้ประสานงานโครงการ คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขอุบลราชธานี ดร.อินทิรา ซาฮีร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นายสุชัย เจริญมุขยนันท ผู้อำนวยการสื่อสร้างงสุขอุบลราชธานี ดำเนินรายการ โดยมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมรับฟังและสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าวอย่างคับคั่ง

นายสุทธินันท์ บุญมี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีกล่าวว่า ในจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์เพียง 0.389% สาเหตุเพราะ ไม่มีที่ขาย,ไม่มีเครือข่าย,ราคาไม่ต่างกับใช้เคมี,ขาดการประชาสัมพันธ์,มาตรฐานอินทรีย์ยังไม่ชัดเจน,ผู้บริโภคไม่เชื่อมั่น และขาดข้อมูล ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องร่วมกันผลักดันศูนย์อินทรีย์อุบลราชธานี เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพของประชาชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา ซาฮีร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ประธานคณะทำงานโครงการกล่าวว่า โครงการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อความมั่นคงทางอาหารและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินงานโดยคณะทำงานโครงการฯ ภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม เช่น มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี

ปัจจุบัน เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเกษตรกรยังต้องกดดันตัวเองให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปหักลบกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและรายได้ของเกษตรกร จากสภาพปัญหาดังกล่าว โครงการฯ นี้ได้ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ได้แก่การผลักดันให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิถีการทำนาจากเคมีเป็นอินทรีย์จำนวน 200 ครอบครัว และภายในปี 2560 ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จำนวน 100 ครอบครัว มีการวิจัยพัฒนารูปแบบการทำนาอินทรีย์เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยการผสมผสานความรู้จากภูมิปัญญาในท้องถิ่นและข้อมูลจากงานวิจัย ดำเนินการให้มีสหกรณ์เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร ทั้งการผลิต การแปรรูป การตลาด นอกจากนี้ยังมีประเด็นด้านการขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรกรที่สนใจ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนนโยบายส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลดีของการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับบุคคล องค์กร และหน่วยงานหลากหลายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

โครงการนี้มีระยะเวลาการดำเนินงาน 4 ปี งบประมาณโครงการ 20 ล้านบาท โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรปร้อยเป็นจำนวนเงิน 18 ล้านบาทมีพื้นที่การทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 11 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรบ้านดอนหมู ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล, กลุ่มเกษตรกรบ้านทองหลาง ตำบลท่าโพธิ์ศรี อำเภอเดชอุดม, กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองมัง ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง, กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองไฮ ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร, กลุ่มเกษตรกรบ้านคำสร้างไชย-บ้านบัวเทิง อำเภอสว่างวีระวงศ์, กลุ่มเกษตรกรตำบลม่วงใหญ่-ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร, กลุ่มเกษตรกรบ้านดงบัง-บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง,กลุ่มเกษตรกรบ้านจานตะโนน ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง และกลุ่มเกษตรกรบ้านคูเมือง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ

น.พ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีเปิดเผยว่า สถิติประชาชนเจ็บป่วยจากการเป็นมะเร็ง,โรคตับ,โรคไตมากขึ้นซึ่งสาเหตุก็เกิดจากพฤติกรรมการกินของเรา ตับ,ไตต้องทำหน้าที่เก็บและทำลายสารพิษ เมื่อมีสารพิษมากก็ทำงานหนักเจ็บป่วยกันมากขึ้น จากผลการตรวจเลือดเกษตรกรล่าสุดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฯ พบว่าเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง 100 คน พบ 70 คน เสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารพิษฆ่าแมลง เป็นข้อมูลที่น่าตกใจมาก อ.กุดข้าวปุ้น เสี่ยงสูงสุดถึง 79% 

แม้แต่เห็ดที่เรากินกันเป็นปกติไม่มีพิษ ปัจจุบันที่ขึ้นใกล้สวนยางพารา ก็ซึมซับพิษจากยาฆ่าหญ้ามาด้วย อันตรายมาก ข้าวก็เช่นกัน ข้าวเป็นพืชที่ดูดซึมสารพิษได้ดีมาก ทราบมาว่าบางพื้นที่ชาวนาฉีดยาฆ่าหญ้าสูงสุดถึง 5 ครั้ง พิษนั้นจะถูกดูดซึมไปที่ไหน การที่สหภาพยุโรปและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีพร้อมภาคีเครือข่ายจับมือกันหนุนเกษตรกรให้ปลูกแบบอินทรีย์นั้นน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดอุบลฯยินดีซื้อผลผลิตจากท่าน

ในงานครั้งนี้ มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ การแสดงละครสะท้อนวิถีการทำเกษตรที่เต็มไปด้วยการใช้สารเคมีในยุคปัจจุบัน ผ่านบทละครของกลุ่มสื่อใสวัยทีนในเรื่อง “เด็กชายอินทรีย์” อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง : http://vvoicetv.com/news-id4939.html

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ถ้าไม่ คือ เสียโอกาส สำหรับเกษตรกรไทย

เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไกและวัฐจักรธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง 

หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ-สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย

แนวคิด

แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารพืชและป้องกันกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาจมีผลในการทำให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตลดลง แนวคิดเช่นนี้เป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานการมองว่า การเพาะปลูกไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ดังนั้นการเลือกชนิดและวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ มุ่งเฉพาะแต่การประเมินประสิทธิผลต่อพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำการผลิต ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จะประสบความสำเร็จได้ เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้กลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ
จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (positive management) และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างอย่างสำคัญจากการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีแบบปล่อยปะละเลย (ที่มักอ้างว่า เป็นการเกษตรตามแบบธรรมชาติ) หรือเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเรามานานหลายปี
เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ (เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา) ดังนั้นเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์-สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ-สังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของตัวเองอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์มุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องอ่อนน้อมและเรียนรู้ในการดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถีธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทย
แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อการค้า เพราะตระหนักว่าครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิตเพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีพ ขบวนการเกษตรอินทรีย์พยายามส่งเสริมการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการตลาดท้องถิ่นอาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามแต่เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร (Community Support Super Mai Agriculture - CSSMA) หรือระบบอื่นๆ ซึ่งมาจากปะเทศใดในโลก ที่มีหลักการในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดที่ห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พยายามพัฒนามาตรฐานการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรองที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกขั้นตอนของการผลิต แปรรูป และการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาคุณภาพของผลผลิตให้เป็นธรรมชาติเดิมมากที่สุด
โดยสรุป จะเห็นว่า เกษตรอินทรีย์เป็นระบบเกษตรที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร




หลักการเกษตรอินทรีย์
หลักการสำคัญ 4 ข้อของเกษตรอินทรีย์ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่ (health, ecology, fairness and care)[2]
(ก) มิติด้านสุขภาพ เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก
สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของระบบนิเวศ การที่ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร
สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะที่ดี
บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภค ต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ
(ข) มิติด้านนิเวศวิทยา เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฐจักรแห่งธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฐจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น
หลักการเกษตรอินทรีย์ในเรื่องนี้ตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ที่มองเกษตรอินทรีย์ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังนั้น การผลิตการเกษตรจึงต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศสำหรับให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของการปลูกพืช เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศของบ่อเลี้ยง
การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า จะต้องสอดคล้องกับวัฐจักรและสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าวัฐจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นนิเวศได้ ดังนัน การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรม และเหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำ การหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน
ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่น และการสร้างความหลากหลายทั้งทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการเกษตร ผู้คนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การแปรรูป การค้า และการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของภูมินิเวศ สภาพบรรยากาศ นิเวศท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ และน้ำ

(ค) มิติด้านความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต
ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียม การเคารพ ความยุติธรรม และการมีส่วนในการปกปักพิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่ ทั้งในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ในหลักการด้านนี้ ความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในทุกระดับควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม ทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค ทุกผู้คนควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนช่วยในการรักษาอธิปไตยทางอาหาร และช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน เกษตรอินทรีย์ควรมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและผลผลิตการเกษตรอื่นๆ ที่เพียงพอ และมีคุณภาพที่ดี
ในหลักการข้อนี้หมายรวมถึงการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์ รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของสัตว์อย่างเหมาะสม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการผลิตและการบริโภคควรจะต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรม ทั้งทางสังคมและทางนิเวศวิทยา รวมทั้งต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลัง ความเป็นธรรมนี้จะรวมถึงว่า ระบบการผลิต การจำหน่าย และการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องโปร่งใส มีความเป็นธรรม และมีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิตด้วย

(ง) มิติด้านการดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย
เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันจะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนี้น เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ จะต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจัง และแม้แต่เทคโนโลยีที่มีการใช้อยู่แล้ว ก็ควรจะต้องมีการทบทวนและประเมินผลกันอยู่เนืองๆ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรายังไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างดีพอเกี่ยวกับระบบนิเวศการเกษตร ที่มีความสลับซับซ้อน ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการต่างๆ ด้วยความระมัดระวังเอาใจใส่
ในหลักการนี้ การดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการ การพัฒนา และการคัดเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในเกษตรอินทรีย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจว่า เกษตรอินทรีย์นั้นปลอดภัยและเหมาะกับสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมาก็อาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน เกษตรกรและผู้ประกอบการควรมีการประเมินความเสี่ยง และเตรียมการป้องกันจากนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ และควรปฏิเสธเทคโนโลยีที่มีความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีต่างๆ จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและระบบคุณค่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ และจะต้องมีการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์
จากรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าอันดับ 4 ของโลก ใช้ฮอร์โมนอันดับที่ 4 ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์เพื่อใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตทางตรงที่เกษตรกรต้องแบกรับ ส่งผลให้ต้องมีการลงทุนต่อไร่สูงและต้องใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนเรื้อรัง มีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้น เกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
การเกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรเชิงเดี่ยวก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากมายดังนี้
  1. ความอุดมสมบูรณ์ของดินถูกทำลายต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน
  2. ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม
  3. เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด ทำให้เพิ่มความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด
  4. แม่น้ำและทะเลสาบถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมี และความเสื่อมโทรมของดิน
  5. พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้เกิดภัยจากสารพิษสะสมในร่างกายของผู้บริโภค
  6. เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศ สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากจะเยียวยาให้กลับมาคืนดังเดิม
นอกจากนั้น การเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย จึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมาก และต่อเนื่องทำให้มีสารตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว โรควัวบ้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนสัญญาณอันตรายที่บอกให้รู้ว่า การเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมไม่เพียงเป็นการทรมานสัตว์ แต่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วย [3]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM)
  2. ^ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM)
  3. ^ อภิชาติ ศรีสอาด จากหนังสือ เกษตรอินทรีย์ ชุดอาหารปลอดภัย

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไทยหมดหวังเป็นครัวโลกพื้นที่เกษตรอินทรีย์ลดเหลือ 0.05 %

ไทยติดอันดับใช้สารเคมีมากที่สุดในเอเชีย
(ต่อจากตอนที่แล้ว)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสารเคมีต่อเกษตรกรนั้น นายวิฑูรย์กล่าวว่า เมื่อเกิดปัญหาจากการใช้สารเคมี ทั้งข้าราชการและบริษัท จะโยนความผิดนั้นให้กับเกษตรกร เช่น เกษตรกรใช้สารเคมีไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งการให้ความรู้กับเกษตรกรขั้นต้นในการใช้สารเคมีนั้น เป็นหน้าที่ที่กรมวิชาการเกษตรต้องทำ แต่ไม่มีการดำเนินการ เช่นกรณีสารเคมีอันตราย 4 ชนิด ที่มีการคัดค้านนั้น กรมวิชาการเกษตรสามารถจะห้ามใช้ได้ตั้งแต่ต้น แต่กลับไม่ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่ควรจะเป็น และยังมีตัวเลขชัดเจนทั้งในประเทศและต่างประเทศว่า สัดส่วนการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย  4 ตัวนี้ โดยเฉพาะ 2 ตัวแรก คือ คาโบฟูราน และเมทนิล มีสัดส่วนประมาณ 30-50 % ซึ่งทั้งสองชนิดนี้จะมีฤทธิ์แรง ค่ามาตรฐานความปลอดภัยจึงต่ำ ดังนั้นจึงเห็นส่วนเกินที่ตกค้างเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยค่อนข้างชัด อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการที่เคยทดลองการใช้คาโบฟูราน และเมทนิล ตามค่ามาตรฐานคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และเก็บเกี่ยวตามเวลา ปรากฏว่ายังพบสารตกค้างเกินค่ามาตรฐานถึง 10 เท่า

“คิดดูว่าเมื่อทำตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรแล้วยังตรวจพบ จึงไม่น่าแปลกใจว่าสินค้าการเกษตร ผักต่างๆที่ส่งไปยุโรปจะมีสารเคมีพวกนี้ตกค้างอยู่  ถึงแม้จะใช้อย่างถูกต้อง แต่ฤทธิ์ของสารเคมีเหล่านี้ ยังเกินระดับที่จะรับได้ ซึ่งควรจะมีการห้ามใช้อย่างเด็ดขาด”

สำหรับทางออกในระยะยาวนั้น นายวิฑูรย์มองว่าการจะแก้ปัญหาการใช้สารเคมีเหล่านี้ ต้องเปลี่ยนระบบการผลิตเป็นระบบที่ปลอดภัย สอดคล้องกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวที่ต้องทำให้เกิดขึ้นเกินครึ่งประเทศ แต่ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังใช้สารเคมีอยู่นั้น คงต้องมีทางเลือกที่ปลอดภัย  ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร ที่จะหาวิธีการทำให้ปลอดภัยกับชีวิตของเกษตรกรมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดคือการเลิกใช้ให้เหมือนอารยประเทศ

“การใช้สารเคมีทำร้ายคน เป็นการฆ่าคนที่ป่าเถื่อน”

ส่วนสถานการณ์การใช้สารเคมีในต่างประเทศ ข้อมูลจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ศึกษาแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญในเอเชีย พบว่าประเทศไทยมีปริมาณการใช้สารเคมีสูงที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ขณะที่สหรัฐอเมริกาพยายามไม่ให้เกษตรกรใช้ยาปราบศัตรูพืช และมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะตรวจสอบสารเคมีในพืชผักของตนเอง ในขณะที่ส่งสารเคมีเหล่านี้ไปจำหน่ายยังประเทศอื่นได้ นอกจากนี้นโยบายของประเทศอุตสาหกรรม และประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง ได้กำหนดให้คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น เป็นสารเคมีต้องห้าม ไม่สามารถผลิต นำเข้า ใช้ในพืชผลทางการเกษตรได้ เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง มีการใช้ที่ไม่เหมาะสมทำให้ปนเปื้อนในแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

ไทยหมดหวังเป็นครัวโลกพื้นที่เกษตรอินทรีย์ลดเหลือ 0.05 %


นายวิฑูรย์กล่าวอีกว่า ทางออกหนึ่งของการลดการใช้สารเคมีที่หลายประเทศทั่วโลก กำลังหันกลับมาเดินในแนวทางนั้นคือ เกษตรอินทรีย์ ซึ่งจากการทำงานตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมาพบว่า พื้นที่ที่ทำเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยลดน้อยลง โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองตามมาตรฐานมีจำนวนลดลงเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่การเกษตรของไทยมีประมาณ 130 ล้านไร่ แต่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เหลือประมาณ 150,000 ไร่เท่านั้น ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน หรือประมาณ 0.05 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่การเกษตรทั้งประเทศ นับว่าเป็นสถานการณ์ที่แย่มาก และยังเกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตจากการใช้สารเคมี การพึ่งพาสารเคมีในระบบการผลิต ปัญหาสารเคมีที่แพงขึ้น หลายประเทศในโลกเปลี่ยนระบบการผลิตไปเป็นแบบอินทรีย์มากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป บางประเทศมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ เช่น สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์  หรือประเทศออสเตรีย ที่มีถึง 20 เปอร์เซ็นต์แล้ว ประเทศเล็กๆบางประเทศอย่างเช่น ประเทศริคเก็นสไตล์ เป็นระบบเกษตรอินทรีย์เกินครึ่งประเทศ ขณะที่ประเทศไทยมีสภาพพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร มีน้ำ ทรัพยากรพร้อม แต่พื้นที่เกษตรอินทรีย์กลับลดลงและไม่อยู่ในฐานะที่ผลิตพลังงานได้ด้วยตนเอง และผู้บริหารประเทศยังไม่มีนโยบายที่จริงจังกับเรื่องนี้

“พื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นต่ำกว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้มาก แต่เดิมเราตั้งว่าจะต้องเพิ่มให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี  ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 10 ว่า ประเทศไทยจะต้องเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้ได้ 5 เปอร์เซ็นต์ ใน 10 ปี ซึ่งในการปฏิบัติจริงทำไม่ได้”

นายวิฑูรย์กล่าวด้วยว่า นโยบายของรัฐบาลเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พื้นที่เกษตรอินทรีย์ลดลง เช่น โครงการรับจำนำข้าว โดยตั้งราคาในระดับสูงถึง 15,000 บาทต่อไร่ แทนที่จะผลักดันนโยบายปรับปรุงคุณภาพในการผลิต เพื่อผลักดันการแข่งขันให้ต่อสู้ได้ กลับไปตั้งราคารับซื้อสูง โดยไม่มีเงื่อนไขอะไรในการรับซื้อ ซึ่งนโยบายเช่นนี้ จะไปสนับสนุนการใช้สารเคมีในการผลิต และสนับสนุนบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้ เช่น บริษัทขายยาปราบศัตรูพืช และบริษัทเมล็ดพันธุ์พืช นอกจากนี้นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล ยังเป็นการตัดราคาบริษัท หรือผู้ประกอบการขนาดเล็กที่รับซื้อข้าวจากชาวนา

“ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ ในจ.สุรินทร์หาซื้อข้าวอินทรีย์เพื่อจะส่งไปขายที่ยุโรป หาซื้อไม่ได้แล้ว เพราะชาวนาใช้ที่ปลูกข้าวเพื่อเข้าโครงการรับจำนำราคาข้าว”

บทคัดย่อ :